วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

ทดสอบปลยภาค


         
               ฉันคิดว่าการจัดการเรียนการสอนโดยใช้บล็อกมีทั้งข้อดีข้อเสีย  ข้อดี   คือสามารถทำงานที่อาจารย์สั่งได้ทุกที่ถ้ามีสัญญาณและสะดวกเพราะใช้คอมพิวเตอร์   ไม่ต้องใช้เอกสารมาแจกนักศึกษาในแต่ละคาบ  นักศึกษาสามารถเรียนรู้เทคนิคและวิธีการจัดการเรียนการสอนที่แปลกใหม่และได้เรียนรู้รู้อะไรต่างๆ มากมาย  การเรียนรู้โดยใช้บล็อกในครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นความรู้ใหม่ของฉัน  ทุกครั้งที่ฉันทำงานที่อาจารย์สั่งงานลงในบล็อกฉันยอมรับว่าฉันตั้งใจมากทุกครั้ง  ไม่ว่าบทความใดที่อ่านจะอ่านอย่างละเอียดถึงแม้ว่าในกรณีที่เป็นวิเคราะห์ฉันอาจทำได้ไม่ดี  แต่นั่นก็เป็นความคิดของแต่ละคนที่ไม่เหมือนกันอย่างแน่นอนและทุกความคิดก็จะเป็นความคิดของตนเองไม่ได้ลอกเพื่อนคนใดอย่างแน่นอน   ฉันพยายามหางานจากหลาย ๆ เวปไซด์เพื่อจะสามารถนำมาเป็นแนวความคิดที่ดีได้และเพื่อให้เป็นความรู้ที่ดีที่สุดสำหรับคนที่ได้อ่านบล็อกของฉันด้วยบางชิ้นงานจะมีแง่คิดแนวคิดบางชิ้นอ่านแล้วสามารถเป็นกำลังใจให้กับหลายๆ คนได้ด้วย   เมื่ออาจารย์กำหนดวันส่งประมาณสักหนึ่งอาทิตย์ฉันจะรีบทำให้เสร็จตรงตามเวลาด้วยความตั้งใจทุกครั้งถึงบางครั้งงานอาจจะออกมาไม่ดีแต่ด้วยต้องคิดว่าต้องส่งให้ตรงตามเวลา  ถึงแม้ว่างานบางชิ้นที่มีติดขัดก็จะไม่ได้ส่งตามกำหนดไปบ้างแต่ฉันก็จะรีบทำ    และขาดเรียนไปหนึ่งครั้งแต่งานของฉันก็เสร็จตรงตามเวลาทุกๆวันที่เข้าเรียนส่วนมากฉันจะมาเรียนก่อนเวลาเป็นส่วนใหญ่   และฉันก็จะแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ทุกครั้ง  ข้อเสีย  คือ  การจัดการเรียนโดยผ่านทางบล็อกก็จะมีบ้างที่อาจทำให้นักศึกษาขี้เกียจและด้วยเวลาที่อาจารย์ให้ทำเยอะทำให้นักเรียนเกิดความคิดว่าเดี๋ยวค่อยทำยังพอมีเวลาจึงอาจทำให้นักศึกษาขาดความรับผิดชอบสำหรับนักศึกษาบางคนวิชานี้ฉันอยากได้เกรด A เพราะฉันรู้ดีว่าฉันตั้งใจทำงานทุกครั้งและให้ความสำคัญกับวิชานี้
             
 และถ้าจะใช้บล็อกในการจัดการเรียนการสอนในอนาคตข้างหน้าฉันคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีเพราะถ้าดูจากการเรียนในครั้งนี้ถ้าแจกเอกสารธรรมดาบางทีเด็กอาจไม่ได้อ่านจริงแต่การเรียนการสอนในครั้งนี้เมื่ออ่านบทความแล้วเราต้องรู้ว่ากล่าวถึงอะไรบ้างและที่มากไปกว่านั้นต้องวิเคราะห์ได้ด้วยความรู้ที่ฉันได้เรียนในครั้งนี้ได้ความรู้ที่แปลกใหม่หลายอย่างและอาจารย์ก็ยังเล่าถึงประสบการณ์การทำงานของท่านด้วยซึ่งถือได้ว่าเป็นความรู้อีกรูปแบบหนึ่งที่สามารถนำการเรียนรู้โดยการใช้บล็อกไปใช้ได้
      

ทดสอบปลายภาค


บทความ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง

                                                        บทความ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง   
          การเป็นครูที่ดีและเป็นที่ยอมรับของทุก ๆ คนนั้นเราต้องรักในวิชาชีพครู  สามารถเป็นกำลังใจให้กับนักเรียน นักศึกษา  สามารถยอมรับกับสถานการณ์และสิ่งรอบตัวและสามารถแก้ปัญหาเป็น
ตัวอย่างเช่น
  อาชีพครูเป็นอาชีพที่เรียกได้ว่าเป็นแม่พิมพ์ของชาติเยาวชนไทยจะเป็นอย่างไรส่วนหนึ่งก็มาจากครู  ครูต้องหมั่นหาความรู้ที่ดีให้เกิดความรู้ที่กระจ่าง   ก้าวทันโลกสมัยเหมือนกับในปัจจุบันประชาคมอาเซียนได้เข้ามามีบทบาทครูซึ่งอยู่ในหน่วยราชการต้องตื่นตัวอยู่เสมอเพื่อจะได้ถ่ายทอดให้กับศิษย์  สอนนักเรียนอย่างจิงจังและให้นักเรียนสามารถปฏิบัติได้จิง  ทำให้เด็กคิดให้เป็น   และถ้าอะไรที่สามารถสอนนอกห้องเรียนได้ก็ควรพานักเรียนไปศึกษา    แต่ไม่ใช่เท่าแต่ครู   นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่คณะครุศาสตร์สาขาต่าง ๆ ก็ต้องขยันแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาความเป็นครูในอนาคตได้อย่างมีคุณภาพ



                                           
2.อ่านบทความเรื่องสมาคมอาเซียนอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้Keywordว่า "สมาคมอาเซียน" ให้เขียนวิเคราะห์ ประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้าน การเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษา เพื่อไปสู่อาเซียนได้อย่างไร
  รศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี
    สัญลักษณ์ของอาเซียนเป็นรวงข้าวสีเหลือง 10 มัด หมายถึงการที่ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน อยู่ในพื้นที่วงกลมสีแดง สีขาว และน้ำเงิน ซึ่งแสดงถึงความเป็นเอกภาพ
           สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจุดเริ่มต้นขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ได้ร่วมกันจัดตั้งสมาคมอาสา หรือ Association of South East Asia ขึ้นเพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่าง ประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย
จนกระทั่งต่อมามีการฟื้นฟูสัมพันธภาพระหว่างประเทศขึ้น จึงได้มีการแสวงหาลู่ทางจัดตั้งองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจขึ้นในภูมิภาค "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" และพันเอก (พิเศษ) ดร. ถนัด คอมันตร์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร โดยมีการลงนาม "ปฏิญญากรุงเทพ" ที่พระราชวังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 จาก ปฏิญญาอาเซียน ซึ่งลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกก่อตั้ง 10ประเทศ ได้แก่ ทุกประที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยกเว้น ติมอร์-เลสเต้ 
โดยสมาชิกผู้ก่อตั้งมี
 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศที่ร่วมลงนามในปฏิญญากรุงเทพ

วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งประชาคมอาเซียน
       

             ประชาคมอาเซียน ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เริ่มแรกเพื่อสร้างสันติภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
   อันนำมาซึ่งเสถียรภาพทางการเมือง และความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และเมื่อการค้าระหว่างประเทศในโลกมีแนวโน้มกีดกันการค้ารุนแรงขึ้น ทำให้อาเซียนได้หันมามุ่งเน้นกระชับและขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างกันมากขึ้น วัตถุประสงค์หลักที่กำหนดไว้ในปฏิญญาอาเซียน
ปรับตัวของภาคราชการไทยในภาพรวม 
             ราชการไทย นอกจากเราจะต้องปรับตัวเพื่อรองรับต่อผลกระทบแล้ว ภาคราชการไทยควรจะมีบทบาทสำคัญในการผลักดันในเรื่องของการจัดตั้งประชาคมอาเซียนด้วย    จึงควรเข้าไปมีส่วนร่วมในการสร้างประชาคมอาเซียนด้วย เกือบทุกกระทรวงในขณะนี้ก็เกี่ยวข้องกับอาเซียน
   ข้าราชการไทยจะต้องมีบทบาทในการผลักดันการจัดตั้งประชาคมอาเซียน และบทบาทในการผลักดันให้ไทยกลับมามีบทบาทที่โดดเด่นในเวทีอาเซียนอีกครั้งหนึ่ง 
ข้าราชการไทย

    •
 เราจะต้องรู้เรื่องอาเซียนมากขึ้น ภาคราชการไทยจะต้องมีการตื่นตัวในการรับรู้เกี่ยวกับ
อาเซียนมากขึ้น
    
  เราจะต้องพยายามที่จะรู้จักประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น   เราจะต้องรู้จักภาษาของประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น    เราจะต้องปรับ ต้องเปลี่ยน เรื่องนี้โยงไปหลายเรื่อง อย่างเช่น ปัญหาความขัดแย้งไทยกับกัมพูชา  รากเหง้าของปัญหา คือ เราไม่สนใจประเทศเพื่อนบ้าน เราจะต้องสร้างคนรุ่นใหม่ ที่ให้ความสำคัญกับประเทศเพื่อนบ้าน และมองประเทศเพื่อนบ้านในแง่บวก ไม่ใช่มองเป็นศัตรู 
   
  อย่างไรก็ตาม อาเซียนได้ตัดสินใจแล้วว่า ภาษาอังกฤษจะเป็นภาษากลางของอาเซียน 
ดังนั้น ในอนาคต ที่จะต้องมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างประชาชนของอาเซียนมากขึ้น รวมทั้งระหว่างระบบราชการของไทยกับระบบราชการของประเทศสมาชิกอื่น จะมีการพบปะ เจรจา และประชุมกันมากขึ้น เพราะความร่วมมือต่างๆจะเกิดมากขึ้นในทุกมิติ
 
   
  สุดท้าย คือ การปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน และการเปิดกว้างการมีส่วนร่วมของภาค
ประชาชน
วิเคราะห์สมาคมอาเซียน
      จะเห็นได้ว่าเมื่อสมาคมอาเซียนเข้ามามีบทบาทกับประเทศไทยนั้นเป็นสิ่งที่ดีอย่างหนึ่งแต่ไทยก็ต้องมีการปรับตัวมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นการสร้างสัมพันธภาพไมตรีกับประเทศอื่น ๆ ที่เป็นสมาชิกอีกทั้งภาษาอังกฤษที่เป็นภาษากลางของสมาคมอาเซียนไม่ว่าจะเป็นครู ที่จะต้องก้าวทันสถานการณ์ใหม่ ๆ อยู่เสมอ รวมถึงนักเรียนจากที่นักเรียนคนใดไม่ชอบภาษาอังกฤษก็ต้องเรียนรู้มากขึ้นเพื่อให้ก้าวทันโลกปัจจุบัน   และแต่ละประเทศเข้าร่วมประชุมก็จะมีการเสนอเรื่องต่าง ๆ ที่จะพัฒนากล่าวได้ว่าสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555

ทดสอบปลายภาค


 1.แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา ให้นักศึกษาอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้Keywordว่า "แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา"ให้เขียนเชื่อมโยง วิเคราะห์ลงในบล็อกของนักเรียน
                                                
                                                                 บทความแท็บเล็ต

         สุรศักดิ์   ปาเฮ     รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่
แท็บเล็ต
  เป็นสื่อเทคโนโลยีที่สำคัญ  มุ่งเน้นไปยังนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  1 จำนวนประมาณ 539,466ปี 2555  ควบคู่กับการพัฒนาเนื้อหาสาระที่เหมาะสมตามหลักสูตรบรรจุลงในคอมพิวเตอร์แท็บแล็ต
ความหมายของแท็บเล็ต  แท็บเล็ต  เป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็กกว่าคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค   พกพาง่ายน้ำหนักเบา   มีคีบอร์ดในตัวหน้าจอสัมผ้ส  ปรับหมุนได้อัตโนมัติ
 แท็บเล็ตพีซี ( Tablet PC : Tablet Personal Computer ) 
        คือเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่สามารถพกพาได้และใช้หน้าจอสัมผัสในการทางาน   ได้ทำการเปิดตัว  ในปี 2001 แต่หลังจากนั้นก็เงียบหายไปและไม่เป็นที่นิยมมากนัก
 แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ ( Tablet Computer / Tablet ) หรือที่เรียกชื่อสั้นๆว่า แท็บเล็ต 
          คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ขณะเคลื่อนที่ได้ มีขนาดกลางกะทัดรัดและใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นลำดับแรก มีคีย์บอร์ดเสมือนจริง หรือปากกาดิจิตอลในการใช้งานแทนที่แป้นพิมพ์หรือคีย์บอร์ด
ความเป็นมาและร่องรอยทางประวัตศาสตร์ของแท็บเล็ต
       จากการศึกษาวิเคราะห์ในเชิงประวัติศาสตร์และหลักฐานต่างๆที่ค้นพบของการใช้เทคโนโลยีประเภทแท็บเล็ต ( Tablet ) นั้นมีข้อสันนิษฐานและกล่าวกันว่าแท็บเล็ตในยุคประวัติศาสตร์ได้เริ่มต้นจากการที่มนุษย์ได้คิดค้นเครื่องมือสาหรับการพิมพ์หรือบันทึกข้อมูลจากแผ่นเยื่อไม้ที่เคลือบด้วยขี้ผึ้ง  บนแผ่นไม้ในลักษณะของการเคลือบประกบกันทั้ง 2  ด้าน ใช้ประโยชน์ในการบันทึกอักขระข้อมูล หรือการพิมพ์ภาพ ซึ่งปรากฏหลักฐานที่ชัดเจนจากบันทึกของซิเซโร ชาวโรมัน 
       สันนิษฐานว่าจะมีอายุราวก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 640-615 ทั้งนี้บริเวณที่ขุดค้นพบจะอยู่แถบตะวันตกเฉียงใต้ของพระราชวังโบราณที่ Nineveh ของ Iraq นอกจากนี้ยังได้พบอุปกรณ์ของการเขียน Wax Tablet โบราณของชาวโรมันที่เป็นลักษณะคล้ายแท่งปากกาที่ทาจากงานช้าง ( Ivory ) ซึ่งหลักฐานที่ปรากฏเหล่านี้ต่างเป็นสิ่งที่ยืนยันถึงวิวัฒนาการและแนวคิดการบันทึกข้อมูลในลักษณะของการใช้ Tablet ในปัจจุบัน
เกศกาญจน์   บุญเพ็ญ       แท็บเล็ตจะเป็นเพียงตัวช่วยเสริมสร้างประสบการณ์ให้กับนักเรียนเท่านั้นแต่ไม่สามารถใช้แทนครูได้
นางกฤตยา  หินเธาว์  ครูประจำชั้นป. 1 /1 โรงเรียนสนามบิน บอกว่าทางโรงเรียนจะไม่ให้แท็บเล็ตกับนักเรียนกลับบ้านเพราะเด็กตัวเล็ก ๆ ไม่สามารถดูแลรักษาได้
นายชินภัทร
  แท็บเล็ตไม่ใช่เครื่องมือที่เราสร้างขึ้นเพื่อความหรูหราหรือไฮเทค  แต่จะบอกว่าเราจะบอกว่าเราจะปฏิวัติการเรียนรู้ทางการศึกษาอย่างไร
นางสาวยิ่งลักษณ์
  ชินวัตร  ประกาศแจกแท็บเล็ตจำนวน 800,000  เครื่อง  แก่เด็กชั้นประถมศึกษาปีที่  อายุ 6-7 ขวบ  งบประมาณกว่า  1000  ล้านบาท
รศ.ดร.สมพงษ์ ตั้งข้อสังเกตว่า  ควรนำไปแจกเด็กที่มีวุฒิภาวะและเป็นวัยที่กระตือรือร้น ในการฝึกทักษะเสาะแสวงหาข้อมูลต่าง ๆ ไม่ใช่นำแท็บเล็ตมาแจกเด็ก ป.1 ซึ่งเป็นวัยที่ยังอ่านไม่ออก  เขียนไม่ได้ ฉะนั้นเด็กเหล่านี้จะไปเสาะแสวงหาข้อมูลได้อย่างไร   อีกทั้งจากงานวิจัย  การแจกแท็บเล็ตนั้น ถือว่าไม่ได้คำนึงถึงความรอบด้านของตัวเด็ก และไม่ได้คิดถึงผลกระทบที่จะตามมาในอนาคต

         การที่มีนโยบายแจกแท็บเล็ตให้กับนักเรียนชั้นประถมถือได้ว่ามีทั้งข้อดี และข้อเสีย
ข้อดีก็คือนักเรียนสามารถเรียนรู้อะไรหลาย ๆตั้งเล็ก ๆและการเรียนรู้สามารถฝึกนิสัยรักการเรียนให้กับนักเรียน
   และเป็นความสะดวกสะบายที่จะสามารถเรียนรู้ได้มากขึ้นด้วยแต่ถึงอย่างไรแล้วแท็บเล็ตไม่สามารถแทนที่ครูได้และอาจเป็นการมั่วสุมของเด็กคือเด็กจะนำพาไปศึกษาในสิ่งที่ผิดคือนำไปเล่นเกมส์หรืออาจพาไปทำอย่างอื่นที่ไม่มีประโยชน์เพราะพ่อแม่ไม่สามารถที่จะดูแลเด็กๆได้ตลอดเวลา  แต่ก็สามารถหลีกเลี่ยงได้ถ้าแต่ละโรงเรียนมีการดูแลอย่างเช่นใช้ในเวลาเรียนไม่พากลับบ้าน   และด้วยคำว่าเทคโนโลยยีนั้นก็มีทั้งข้อดีข้อเสียอย่างที่กล่าวมา