วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่7

  ทีวีครู

สอนสังคมแบบ โยนิโสมนสิการ
 อาจารย์ผู้สอน อ.สิริมา กลิ่นกุหลาบ
 สอนระดับชั้น ป.๒
สอนเรื่อง คุณ โทษ และทางออกของปัญหา เพื่อให้นักเรียนรู้จักการแก้ปัญหา
เนื้อหาที่สอน
๑. การสร้างศรัทธาโดยการร้องเพลงดอกไม้บาน
 ๒. ให้เด็กทำดอกไม้แห่งความดี เด็กเกิดความภูมิใจที่ทำความดีและได้รับคำชมเชย
 ๓. เด็กรู้จักคิดด้านบวกและลบ โดยการสร้างสถานการณ์ให้เด็กรู้จักคิดเพิ่มมากขึ้นและรู้จักวิธีแก้ปัญหาต่างๆ
 ๔.การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
 ๕.ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมไทยเรา
กิจกรรมด้านการสอน
-ด้านสติปัญญา มีการกระตุ้นสติปัญญาของเด็กให้เด็กรู้จักคิด
-ด้านอารมณ์มีการกระตุ้นให้เด็กมีอารมณ์ร่วมในการเรียนรู้ สนใจการเรียน
-ด้านคุณธรรมจริยธรรม สอนให้เด็กรู้จักช่วยเหลือสังคม เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
 บรรยากาศการจัดห้องเรียน
 นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียน มีความกล้าแสดงออก ให้นักเรียนมีอิสระในการเรียน



กิจกรรมที่6

ท่องเทื่ยวจังหวัดตรัง

วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่5



 นางศิริพร  ทองขาว
ครูชำนาญการพิเศษ
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ประวัติการศึกษา
* วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (วท.ม.) เคมีศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
* วิทยาศาสตร์บัณฑิต (วท.บ.) ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ประวัติการทำงาน
* อาจารย์ 1 ระดับ 3 โรงเรียนรัตนพลวิทยา อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา ปีพ.ศ.2528
* อาจารย์ 2 ระดับ 6 โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ปี พ.ศ.2536
* อาจารย์ 2 ระดับ 7 โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ปี พ.ศ.2540
* อาจารย์ 3 ระดับ 8 โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ปี พ.ศ.2545
* ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ปี พ.ศ.2547
ความภาคภูมิใจ
* อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการลานไทรอ่านเฉลิมพระเกียรติยอดเยี่ยม เขตการศึกษา 3 ปี พ.ศ.2543
* ครูแกนนำสาขาวิทยาศาสตร์ ปี พ.ศ.2544 สามัญศึกษาจังหวัดสงขลา
* อาจารย์ที่ปรึกษาดีเด่นด้านการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สหวิทยาเขตนครหาดใหญ่ ปี พ.ศ.2544
* ได้รับทุนส่งเสริมงานวิจัยในชั้นเรียน จากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.) ปี พ.ศ.2545
* ครูผู้พัฒนาตนเองและจัดการเรียนการสอนยอดเยี่ยม โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา ปี พ.ศ.2547
* ผู้ปฏิบัติงานดีเด่นในสถานศึกษาที่ชนะการประกวดระดับเขตตรวจราชการเรื่องระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ปี พ.ศ.2547
* ครูยอดนักอ่านดีเด่น บริษัทนานมีบุ๊คส์ ปี พ.ศ.2547
* ครูผู้ันำการใช้เทคโนโลยีสู่การจัดการเรียนการสอนดีเด่น โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา ปี พ.ศ.2548
* ครูผู้มีผลงานวิจัยดีเด่น เขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต 2 ปี พ.ศ.2548
* วิทยากรให้การอบรมครูด้านการใช้หลักสูตร และการจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาสู่ครูมืออาชีพ เขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต 2 ปี พ.ศ.2547-2548
* ผ่านการประเมินมาตรฐานครูวิทยาศาสตร์ ระดับช่วงชั้นที่ 3 จากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ปี พ.ศ.2548
* ครูต้นแบบด้านการจัดการศึกษาพัฒนาเด็กไทยตามโครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการเพื่อการเรียนรู้ระดับดีเด่น สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ ปี พ.ศ.2549
* ครูผู้ส่งเสริมวัฒนธรรมไทยดีเด่น โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา ปี พ.ศ.2549
* ครูผู้สนับสนุนการจัดกิจกรรมพื้นที่ 5 ส ดีมาก โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา ปี พ.ศ.2549
* ครูผู่ส่งเสริมวัฒนธรรมไทยดีเด่น โรงเรียน ญ.ส. ปี 2550-2552
* ครูผู้สนับสนุนการจัดกิจกรรม 5 ส. ห้องเรียนดีเยี่ยม ปี 2550-2551
* ได้รับคัดเลือกให้เผยแพร่งานวิจัยในงาน วทร.19 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต
* ชนะเลิศการประกวดสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ E-Book สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลาเขต 2 ปีการศึกษา 2552

วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่4

กิจกรรมที่ 4

 1. แนวคิดหลักการทำงานเป็นทีม เป็นอย่างไร 

       เชื่อว่าไม่มีคนสองคนที่เหมือนกันทุกด้าน การทำงานเป็นทีมจะต้องยอมรับความเเตกต่างของบุคคลทางด้านความเชื่อ ค่านิยม สิ่งที่เรียนรู้ ประสบการณ์ เเละรวมถึงทางด้านร่างกายจิตใจ อารมณ์ความรู้สึกบุคลิภาพ เเรงจูงใจของมนุษย์ในด้านต่างๆ ด้านสังคม ต้องการเป็นที่ยอมรับ ต้องการสมหวัง ความต้องการทางด้านร่างกาย เป็นต้น เเละทางด้านธรรมชาติของมนุษย์พฤติกรรมต่างๆที่เเสดงออกมามนุษย์เเต่ละคนมีธรรมชาติที่เเตกต่างกัน


 2. นักศึกษาจะมีวิธีการทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพทำอย่างไร  ยกตัวอย่างประกอบ

        
        การทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพจะต้องรับฟังความคิดเห็นของแต่ละคนที่อยู่ในทีม เพราะคนในทีมนั้นมีความคิดที่แตกต่างกัน คนในทีมจะต้องให้ความร่วมมือกันทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านความคิด ด้านการปฏิบัติก็จะต้องร่วมมือกัน

              ตัวอย่าง เช่น ถ้าเราได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานเป็นทีม แต่คนในทีมไม่ร่วมมือกันงานก็ออกมาไม่มีประสิทธิภาพ

วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 3

กิจกรรมที่3

คำถาม      

      1. การจัดการเรียนการสอน จัดชั้นเรียน เตรียมการสอน ในยุคศตวรรษที่ 21 กับยุคก่อนศตวรรษที่ 21 เปรียบเทียบกันแตกต่างกันอย่างไร           

           การจัดการเรียนการสอน จัดชั้นเรียน เตรียมการสอน ในยุคก่อนศตวรรษที่ 21เป็นการเตรียมตัวเพื่อชีวิต   เมื่อถึงระยะหนึ่ง การเรียนรู้ก็จะสิ้นสุดลงเพื่อการเริ่มต้นของชีวิต ส่วนมากเกิดขึ้นในโรงเรียน ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษหรือมีความรู้ในเรื่องนั้นๆ มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ จะจัดการเรียนการสอนขึ้นเเต่ในโรงเรียนโดยมีการเขียนเเผนการสอนเนื้อหาไว้เเล้ว โรงเรียนจะเป็นผู้ที่สอนให้บุคคลมีความเป็นมนุษย์ที่ดี เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม เพื่อพัฒนาสังคมให้มีความเจริญก้าวหน้า
           การจัดการเรียนการสอน จัดชั้นเรียน เตรียมการสอน ในยุคศตวรรษที่ 21 จะเป็นการจัดการเรียนการสอนเเบบตลอดชีวิต โดยมีเเนวคิดว่ามนุษย์เป็นสัตว์ที่ต้องเรียนรู้ตลอดชีวิตเเละสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ทุกที่ การจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนต้องมีความหลากหลายเพื่อให้เหมาะสมกับผู้เรียนในเเต่ละคนที่คนมีสิทธิที่จะเลือกสิ่งที่สนใจหรือต้องการจะศึกษา เพราะทุกคนมีความสามรถในการคิดการจดจำที่ต่างกัน สังคมจะเป็นตัวช่วยในการทำให้มนุษย์เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์เเบบขึ้น                                                                                                   

            แตกต่างกันตรงเตรียมการสอนในยุคก่อนศตวรรษที่21เป็นการเตรียมตัวเพื่อชีวิตและเป็นระยะเตรียมการสอนในยุคศตวรรษที่ 21 จะเป็นการจัดการเรียนการสอนเเบบตลอดชีวิต                                                              
 

  2. ครูผู้สอนจะต้องเตรียมตัวอย่างไรในอนาคตที่ท่านจะเป็นครูยุคต่อไปข้างหน้า ให้สรุปตามแนวคิดของนักศึกษา
               
ครูผู้สอนจะต้องมีความรู้เรื่องเทคโนโลยี  สามารถใช้เทคโนโลยีเป็น เพื่อจะได้นำมาเป็นเครื่งมือในการสอนนักเรียน  และครูผู้สอนต้องติดตามข่าวสารอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้ทันสมัยและสามารถนำมาถ่ายทอดให้ผู้เรียนทราบได้  ครูผู้สอนต้องรู้ภาษาอังกฤษเพราะอนนาคตโลกเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
       

วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่2

กิจกรรมที่2

ทฤษฎีการบริหารการศึกษา


ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ 5 ขั้น
       มาสโลว์ เป็นเจ้าของทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ 5 ลำดับ  มาสโลว์ แบ่งความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ออกเป็น 5 ระดับด้วยกัน ได้แก่ 
     1.ความต้องการทางกายภา
     2.ความต้องการความปลอดภัย
     3  ความต้องการทางสังคม
     4  ความต้องการยกย่องชื่อเสียง
     5.ความต้องการที่จะรู้จักตนเองตามสภาพที่แท้จริงและความสำเร็จของชีวิตมาสโลว์ตั้งสมมุติฐานเกี่ยวกับความต้องการมนุษย์ไว้ดังนี้
    1. มนุษย์มีความต้องการอยู่เสมอ 
    2. ความต้องการที่ได้รับการตอบสนองแล้วจะไม่เป็นสิ่งจูงใจของพฤติกรรมนั้น ๆ อีกต่อไป 
    3. ความต้องการของมนุษย์จะเรียงกันเป็นลำดับขั้น ตามความสำคัญ

Douglas Mc Gregor : ทฤษฎี X และทฤษฎี Y          
           อาจจะเรียกได้ว่าเป็นทฤษฎีการมองต่างมุม ในความเป็นจริงของคนทุกคนไม่มีใครจะร้ายอย่างบริสุทธิ์ คือไม่มีข้อดีเลย คงไม่มี และในทางกลับกัน ก็คงไม่มีใครที่ดีร้อยเปอร์เซ็นต์
          ทฤษฎี
 X(Theory X) เป็นปรัชญาการบริการจัดการแบบดั้งเดิม โดยมองว่าพนักงานเกียจคร้าน ไม่กระตือรือร้น ไม่ชอบงานและพยายามหลีกเลี่ยงงาน
         ทฤษฎี Y(Theory Y) เป็นปรัชญาการบริการจัดการ โดยมองว่าพนักงานมีความรับผิดชอบ มีความคิดริเริ่มในการแก้ปัญหาในการทำงานและไม่มีความเบื่อหน่ายในการทำงาน
        แมคเกรเกอร์ ได้เรียกร้องให้ผู้บริหารเปลี่ยนแปลงมุมมองมนุษย์จากมุมมองตามทฤษฎี X ไปเป็นมุมมองตามทฤษฎี Y
William Ouchi : ทฤษฎี Z
         ทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีลูกผสมระหว่างญี่ปุ่นกับอเมริกัน คุณวิลเลียม โอชิ ซึ่งเป็นชาวซามูไร เป็นคนคิดขึ้นมา ทฤษฎี Z บางตำราอาจจะเรียกว่ากลุ่มทฤษฎีร่วมสมัย เป็นทฤษฎีที่มองเห็นว่าการจูงใจคนนั้นต้องเป็นไปตามสถานการณ์ 
การที่จะทำความเข้าใจทฤษฎี Z ได้นั้น ต้องทำความเข้าใจของทฤษฎี A และทฤษฎี J ก่อน
        ทฤษฎี A คือ Amarican Theory เป็นทฤษฎีว่าด้วยการบริหารจัดการร่วมสมัยตามแบบของอเมริกา ซึ่งให้หลักการว่า การบริหารจัดการแบบนี้ ต้องอาศัยการจัดการจากพื้นฐานของบุคคล ของผู้บริหารที่เกิดขึ้นในอดีต         ทฤษฎี J คือ การบริหารจัดการแบบญี่ปุ่น ซึ่งมีลักษณะที่เรียกว่า 1.) การจ้างงานตลอดชีวิต หรือ Lifetime Employment มีการเลื่อนตำแหน่ง มีความผูกพันกัน
         วิลเลี่ยม โอชิ ได้นำทฤษดฎีข้างต้น ที่เรียกว่า Blend Together หรือการนำมาผสมผสานให้เป็นหนึ่งเดียวกัน เรียกว่า ทฤษฎี Z ซึ่งเป็นแนวคิดของการบริหารจัดการเชิงจินตนาการ โดย 
       1.) ใช้วิธีแบบ Long Term Employment หรือการจ้างงานระยะยาวขึ้น ซึ่งเป็นทางสายกลาง 
       2.) ประการที่สอง จะต้องมีลักษณะที่เรียกว่า Individaul Responsibility คือ จะต้องมีความรับผิดชอบส่วนบุคคล ซึ่งนำเอาหลักแนวคิดแบบอเมริกันมาใช้กับบุคลากรในหน่วยงานให้มีความรับผิดชอบต่อตนเอง 
       3.) และประการที่ 3 คือ ต้องมี Concential Decision Making คือ การตัดสินใจต้องทำเป็นทีม ต้องมีการพูดคุย ถึงผลดีผลเสียของการบริหารจัดการแบบต่างๆ

Henry Fayol : บิดาทฤษฎีการบริหารจัดการสมัยใหม่        

         เป็นบิดาของทฤษฎีการจัดการการปฏิบัติการ(Operational management theory)
หรือบางทางก็ถือกันว่าเป็นบิดาของการบริหารจัดการสมัยใหม่
เขาเชื่อว่าการบริหารนั้นเป็นเรื่องของทักษะ และเขาสนใจที่จะศึกษาองค์การโดยรวมและมุ่งเน้นที่กิจกรรมการจัดการ (
Managerial activities) ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมห้าอย่างคือ     1. การวางแผน(Planning)
     2. การจัดองค์การ(Organizing)
     3. การบังคับบัญชา หรือการสั่งการ (Commanding)
     4. การประสานงาน (Coordinating)
     5. การควบคุม (Controlling)

Max Weber : ทฤษฎีการจัดการตามระบบราชการ (Bureaucratic Management)    

              แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) เป็นนักสังคมวิทยา ชาวเยอรมัน ได้นำเสนอแนวคิดการจัดองค์การ ที่เรียกว่า bureaucracy  โดยสรุปแล้วแนวคิดการจัดองค์กรของเว็บเบอร์มี 6 ประการมีดังนี้ คือ
     1. องค์การต้องมีการจัดแบ่งงานออกเป็นส่วนๆ น(Division of labor)
     2. องค์การนั้นต้องมีสายบังคับบัญชาตามลำดับชั้น ( Authority Hierarchy) 

     3. ระบบการคัดเลือกคนนั้นต้องกระทำอย่างเป็นทางการ ( Formal Selection) 
     4. องค์การต้องมีระเบียบ และกฏเกณฑ์ (Formal Rules and Regulations) 
     5. ความไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ( Impersonality) ความจริงคำว่า impersonality 

     6. การแยกระบบการทำงานออกเป็นสายอาชีพ (Career Orientation) 

Luther Gulick : POSDCORB       

            Luther Gulick เป็นผู้คิดรูปแบบการบริหารจัดการโดยมีกิจกรรม 7 ประการมาใช้ในการบริหารจัดการ กิจกรรมทั้ง 7 ประการมีคำย่อว่า POSDCORB(CO คือคำเดียวกัน) มีการนำรูปแบบการบริหารจัดการของLuther Gulick ไปใช้ในการบริหารองค์กรสมัยใหม่อย่างกว้างขวาง แนวความคิดที่นำเอามุมมองทั้ง 7 ด้านมาใช้นั้นสอดคล้องกับทฤษฎีการบริหารจัดการของ Henri Fayol , Frederick W.Taylor และ Max Weber          
          คือการวางแผน (planning) หมายถึงการกำหนดเป้าหมายขององค์การว่าควรทำงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์อะไร และจะดำเนินการอย่างไร
         คือการจัดองค์การ (organizing) หมายถึงการจัดตั้งโครงสร้างอำนาจอย่างเป็นทางการภายในองค์การเพื่อประสานงานหน่วยทำงานย่อยต่าง ๆ ให้สามารถบรรลุเป้าหมายขององค์การได้
          คือการสั่งการ (directing) หมายถึง การที่หัวหน้าฝ่ายบริหารมีหน้าที่ต้องตัดสินใจอยู่ตลอดเวลาโดยพยายามนำเอาการตัดสินใจดังกล่าวมาเปลี่ยนเป็นคำสั่งและคำแนะนำนอกจากนี้ ยังหมายถึงการที่หัวหน้าฝ่ายบริหารต้องทำหน้าที่เป็นผู้นำขององค์การ
            คือการบรรจุ (staffing) หมายถึง หน้าที่ด้านบริหารงานบุคคลเพื่อฝึกอบรมเจ้าหน้าที่และจัดเตรียมบรรยากาศในการทำงานที่ดีไว้
            CO คือการประสานงาน(co-ordinating) หมายถึง หน้าที่สำคัญต่าง ๆ ในการประสานส่วนต่าง ๆ ของงานให้เข้าด้วยกันอย่างดี 
             คือการรายงาน (reporting) หมายถึง การรายงานความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ในองค์การให้ทุกฝ่ายทราบ ทั้งนี้อาจใช้วิธีการต่าง ๆ เช่น การวิจัยและการตรวจสอบ
              คือการงบประมาณ (budgeting) หมายถึงหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวของกับงบประมาณในรูปของการวางแผนและการควบคุมด้านการเงินการบัญชี
Frederick Herzberg : ทฤษฎี 2 ปัจจัย (Two Factors Theory)
        ทฤษฎีเกี่ยวกับแรงจูงใจโดยเฟรเดอริค เฮิร์ซเบอร์ก (Frederick Herzberg)
เฮิร์ซเบอร์กได้ศึกษาเรื่องเกี่ยวกับแรงจูงใจของคน เขาได้ศึกษาโดยการสัมภาษณ์พนักงานในเรื่องของความพึงพอใจจากการทำงาน สรุปว่าแรงจูงใจของมนุษย์จะประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือ
      1. ปัจจัยภายนอกหรือเรียกว่า Hygiene Factors
      2. ปัจจัยภายใน หรือ Motivation Factors
ปัจจัยภายนอก(Hygiene Factors) ได้แก่ 
 นโยบายขององค์กร 
 การบังคับบัญชา 
 ความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน 
สภาพแวดล้อม/เงื่อนไขในการทำงาน 
ค่าจ้าง/เงินเดือน/สวัสดิการ 
ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน 
ปัจจัยภายใน(Motivation Factors) ได้แก่ การทำงานบรรลุผลสำเร็จ
การได้รับการยอมรับ
 ทำงานได้ด้วยตนเอง
 ความรับผิดชอบ
 ความก้าวหน้าในงาน
 การเจริญเติบโต

Frederick W. Taylor : ทฤษฏีการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์      

            เทย์เลอร์ ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์ ปรัชญาการบริหารของเทย์เลอร์ได้แก่ 
      1.ทำการศึกษางานแต่ละส่วนด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์และพัฒนาวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับการทำงานแต่ละอย่าง
      2.ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ในการคัดเลือกและการฝึกอบรมพนักงานและมอบหมายความรับผิดชอบให้ทำงานที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละคน
       3. มีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้บริหารและพนักงาน
       4. แบ่งงานและความรับผิดชอบในงานเป็นส่วนต่าง ๆ
Frank B. & Lillian M. Gilbreths : Time – and – Motion Studies

       แนวคิดของ Gilbreth เน้นการกำจัดความสิ้นเปลือง และความไม่มีประสิทธิภาพในการทำงาน โดยการหาวิธีการทำงานที่ดีที่สุดอย่างหนึ่ง (the o­ne best way to do work) การศึกษาที่สำคัญคือลักษณะการเคลื่อนไหวของร่างกายในการทำงาน (Motion Study)ผังกระบวนการทำงาน (Work Flow Process Chart)


สรุปจากเอกสารบริหารการศึกษา
บทที่ 1

มโนทัศน์เกี่ยวกับการบริหารการศึกษา
              การบริหาร  เริ่มใช้เมื่ออาณาจักรโรมันล่มสลายโดยกลุ่มนักรัฐศาสตร์  การบริหารการศึกษา  หมายถึง  กิจกรรมต่างๆ  ที่บุคคลหลายคนร่วมกันดำเนินการ  เพื่อพัฒนาสังคมในทุกๆด้าน และการบริหารการศึกษา หมายถึงกิจกรรมต่างๆที่บุคคลหลายคนร่วมกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาสมาชิกของสังคมในทุกๆด้าน
บทที่  2
วิวัฒนาการของการบริหารยุคต่างๆและการประยุกต์ใช้ในการบริหารการศึกษา
วิวัฒนาการด้านรัฐกิจให้ความหมายการบริหารงานของรัฐหมายถึง การบริหารหรือจัดการหรือดำเนินการในด้านรายละเอียดอย่างมีแบบแผน ซึ่งเกี่ยวพันกับกฎหมายต่างๆของรัฐการใช้กฎหมายคือการบริหาร ส่วนวิวัฒนาการด้านธุรกิจในระบบมีการใช้วิธีฝึกจากการทำงานการจัดการ เป็นสาขาที่สำคัญ  นอกจากการใช้  “ระเบียบวินัยในการทำงาน การบริหารด้านธุรกิจมีการวางกฎเกณฑ์ ระเบียบปฏิบัติวัตถุประสงค์และการรวมพลังของกลุ่ม  ดังนั้นปรัชญาของการบริหารธุรกิจจึงมุ่งแสวงหากำไรมากกว่าอย่างอื่น  เป็นเป้าหมายสำคัญในการแบ่งยุคของยุคของนักทฤษฎีการบริหาร
 บทที่  3
งานบริหารการศึกษา
การบริหารการศึกษาจะไม่แตกต่างกับการบริหารงานทั่วไป กล่าวคือสามารถนำหลักการของของการบริหารทั่วไปมาใช้กับการบริหารศึกษาได้ ผลเสียของการบริหารดังกล่าวสามารถมองเห็นได้ง่าย  เพราะจะมีลักษณะเผด็จการโดยการสั่งการสั่งจากเบื้องบน  มีคำสั่งให้ครูปฏิบัติและมีข้อห้ามในการกระทำ  และมีการควบคุมอย่างเข้มงวดและมีการลงโทษหากผู้ใดฝ่าฝืนและลงโทษตามกฎหมายกำหนดและมีเครือข่ายทางการศึกษาดังนี้
1.การผลิต หมายถึง กิจกรรมพิเศษหรืองานที่ทางองค์การได้จัดตั้งขึ้น
2.การประกันหมายถึงการใช้ผลผลิตจากประชาชน หมายถึง กิจกรรมและผลผลิตของการดำเนินงาน
3.การเงินและการบัญชี หมายถึง  การรับและการจ่ายเงินในการลงทุนในกิจกรรมขององค์การ
4.บุคลากร คือ   การกำหนดรอบและการดำเนินการของนโยบาย
5.การประสานงาน  คือ  เป็นกิจกรรมที่สำคัญของการบริหารการศึกษา
บทที่  4
กระบวนการทางการบริหารการศึกษา
การบริหารการศึกษาเป็นหน้าที่หนึ่งของรัฐบาลในการบริหารประเทศ  เป็นการบริหารธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาแก่เด็กและเยาวชน  ที่เรียกว่าการบริหารการศึกษาสิ่งที่ทำให้การบริหารการศึกษา  การบริหารราชการ  และการบริหารธุรกิจจะแตกต่างกัน  และปรัชญาการศึกษา  ในการบริหารการศึกษาผู้บริหารนั้นจะต้องรู้เกี่ยวกับหลักการบริหาร  ที่สามารถนำไปเป็นหลักการจัดการศึกษาในโรงเรียนมี  2 เรื่อง คือ  1.การจัดระบบสังคม 2.เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการศึกษา
บทที่  5
องค์การและการจัดองค์การ
       องค์การตามแนวคิด หมายถึงส่วนประกอบที่เกิดจากระบบย่อยหลายระบบที่มีปฏิสัมพันธ์  กันภายใต้สิ่งแวดล้อมหรือระบบใหญ่ เราสามารถจำแนกองค์การที่อยู่รอบตัวเราออกเป็น  ลักษณะใหญ่ๆคือ
1.             องค์การทางสังคม
2.             องค์การทางราชการ
3.             องค์การเอกชน
     แนวคิดในการจัดองค์การ
1.  แนวคิดในการจัดองค์การมาจากพื้นฐานการดำเนินงานขององค์การที่ภารกิจมาก
2.  แนวคิดในการจัดองค์การยังต้องคำนึงถึง  ผู้ปฏิบัติงาน
3.  แนวในการจัดการองค์การ  จะต้องกล่าวผู้บริหารควบคู่กันไป
     ความสำคัญของการจัดองค์การเป็นที่รวมของคนและเป็นที่รวมของงานต่างๆ  เพื่อให้พนักงานขององค์การ  ปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่และเต็มความสามารถ
    องค์ประกอบในการจัดองค์การ
                1.  หน้าที่การงานเป็นภารกิจ
                2.  การแบ่งงานกันทำ
                3.  การรวมและการกระจายอำนาจในการจัดการองค์การ
    ทฤษฎีองค์การ  ความรู้ที่ได้จากทฤษฎีขององค์การอันด้มาจากสังคมวิทยา  รัฐศาสตร์  และบางส่วนของจิตวิทยาสังคมกับเศรษฐศาสตร์                 
ระบบราชการและองค์การทางการศึกษา ให้ความหมายไว้ว่าระบบราชการ  หมายถึง  ระบบการบริหารที่มีลักษณรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลางอย่างมาก  มีความอิสระในการปฎิบัติงานและเป็นกึ่งทหาร
บทที่ 6
การติดต่อสื่อสาร
การติดต่อสื่อสารเป็นองค์ประกอบหนึ่งในกระบวนการบริหารที่ดี มีความหมายว่ากระบวนการติดต่อเกี่ยวข้องและประสานงานกันระหว่างบุคคล โดยอาศัยวิธีการถ่ายทอด และการรับข้อมูลเพื่อเป้าหมายที่ตั้งไว้ การติดต่อสื่อสารจึงมีความสำคัญอย่างหนึ่งในการบริหารเพื่อการแลกเปลี่ยนความคิดหรือเสริมสร้างความเข้าใจระหว่างกันและยังมีความสำคัญในการดำเนินการในองศ์การอย่างมาก ปัจจัยในการติดต่อสื่อสารมี 3 ตัว คือ สื่อ ช่องทางที่สื่อผ่านและกระบวนการ รูปแบบของการติดต่อสื่อสาร การจัดเตรียม การสังเกตการณ์ของกระบวนการ การจำแนกปัจจัยผันแปร ชึ่งสิ่งเหล่านี้จะกำหนดทิศทาง ช่วยให้ผู้บริหารจับประเด็นปัญหาของการติดต่อสื่อสาร และช่วยป้องกันความยุ่งยากที่อาจเกิดขึ้นก่อนล่วงหน้า องค์ประกอบของการติดต่อสื่อสารจะมีผู้ส่งสาร ช่องทาง ข้อมูล ผู้รับสาร การตอบรับ ส่วนการติดต่อสื่อสารจะมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข่าวสารมีความเข้าใจระหว่างผู้ปฎิบัติงานเพื่อการทำงานไปด้วยดี ช่วยสร้างทัศนคติเกิดแรงจูงใจ เพื่อเกิดแรงจูงใจ
บทที่ 7
ภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำ หมายถึงการเป็นผู้นำที่ใช้อิทธิพลในการดำเนินงาน ในความสัมพันธ์ต่อผู้ใต้บังคับบัญชาในสถานการณ์ต่างๆเพื่อปฏิบัติการและอำนวยการ โดยใช้กระบวนการติดต่อชึ่งกันและกัน หน้าที่ผู้นำเกี่ยวข้องกับ การอำนวย การจูงใจ การริเริ่ม กำหนดนโยบาย วินิจฉัยสั่งการ องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับภาวะผู้นำ มีผู้นำ ผู้ตาม สถานการณ์ ผู้นำกับผู้บริหารจะแตกต่างกันคือผู้นำก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กร ส่วนผู้บริหารเป็นผู้รักษาความมั่นคงในหน่วยงาน ผู้นำจะกลุ่มยกย่องเนื่องจากมีลักษณะเด่นเป็นพิเศษเหนือบุคคลอื่นเนื่องจากผู้บริหารมีรูปแบบเป็นทางการ
บทที่ 8
การประสานงาน
การประสานงาน คือการจัดระเบียบวิธีการทำงาน เพื่อให้งานและเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่งๆร่มมือปฎิบัติงานเป็นน้ำหนึ่งเดี่ยวกัน เพื่อให้งานดำเนินไปอย่างราบรื่นสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และนโยบาย ความมุ่งหมายในการประสานช่วยให้คุณภาพและผลงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ เพื่อจัดความซ้ำซ้อนกันของการทำงานโดยไม่จำเป็น และเพื่อลดปัญหาความขัดแย้งกันระหว่างเจ้าหน้าที่ปฎิบัติงาน ภารกิจในการประสานงานที่ดี ควรทราบถึงภารกิจที่ดีในการประสานงานคือต้องทราบนโยบาย แผนงาน งานที่รับผิดชอบ และทรัพยากร ส่วนหลักการประสานงานควรจัดให้มีระบบในการสื่อสาร ความร่วมมือ การประสานงานและนโยบายที่ดี และในการประสานให้มีประสิทธิภาพและรวดเร็วควรจะมีโครงสร้างที่จัดเป็นระบบแบบแผน มีแผนภูมิแสดงสายการบังคับ มีการเขียนนโยบาย มีระบบเสนองาน มีเครื่องมือและระบบสื่อสารที่เพียงพอและเปิดโอกาสให้กับผู้เข้าร่วม การประสานงานที่ดีจะมีประโยชน์หลายอย่างคือช่วยลดการขัดแย้ง ลดปัญหาที่ซับซ้อน ทำให้เกิดเอกภาพในการทำงาน ช่วยให้ประหยัดเงิน เวลา
บทที่ 9
การตัดสินใจสั่งการหรือการวินิจฉัยสั่งการ
การตัดสินใจคือการชั่งใจไตร่ตรองหาเหตุผลเพื่อให้การดำเนงานไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ ส่วนการวินิจฉัยสั่งการคือการสั่งงานหรือการพิจารณาตกลงชี้ขาดจากทางเลือกที่มีอยู่มากกว่าหนึ่งทางขึ้นไป หลักการในการตัดสินใจหรือวินิจฉัยสั่งการ บางครั้งตัดสินใจถูกแต่การสั่งงานผิดพลาดอาจทำให้เกิดผลเสียหายแก่งาน  ลักษณะการวินิจฉัยสั่งการของผู้บริหารที่ดี จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ดังนี้ ระยะเวลาที่เหมาะสม ความแน่นอน ความรู้ความสามารถของผู้บริหาร ประสบการณ์ในการทำงาน ทัศนคติ บุคลิกภาพที่มีอิทธิพล ความลำเอียงส่วนบุคคล ความโดดเดี่ยว ประสบการณ์ การรู้โดยความรู้สึก และการแสวงหาคำแนะนำ
บทที่ 10
ภารกิจของผู้บิหารโรงเรียน
ผู้บริหารโรงเรียน ถือว่าเป็นบุคคลสำคัญที่ได้รับการแต่งตั้งหรือมอบหมายงานให้มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการศึกษาหรืออำนวยการต่างๆ  จะมีหลายด้าน ดังนี้  
1.การบริหารงานวิชาการ จะเป็นหัวใจของการบริหารในโรงเรียน ลักษณะและความสำคัญของงานวิชาการ จึงถือว่างานวิชาการท้าทายผู้บริหารการศึกษา
2.การบริหารบุคคล คือการจัดงานเกี่ยวกับคนให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่งเสริมให้กำลังใจผู้ปฎิบัติให้ทำงานอย่างมีปะสิทธิภาพ  ความสำคัญของการบริหารบุคคล คือ คนเป็นผู้บันดาลให้ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้น วัตถุประสงค์ เพื่อสรรหาและเลือกสรรคนดี มีความรู้ความสามารถมาทำงานให้เกิดผลสูงสุดอยู่กับองศ์การนานๆ 
3.การบริการธุรการในโรงเรียน คืองานธุรการเป็นเรื่องของการให้บริการแก่หน่วยงานต่างๆของโรงเรียนหรอสถาบันการศึกษา ส่งผลให้การเรียนการสอนเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด ความสำคัญจะเป็นเสมือนน้ำมันหล่อลื่นให้เครื่องจักร(งานวิชาการ) ทำงานได้ดีและเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความสามารถของผู้บริหารงาน หน้าที่ของผู้บริหารงานธุรการ คือจะเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายงานธุรการ ติดตามและวางแผนการปฎิบัติงาน จัดระบบงาน 
4.การบริหารงานนักเรียน เป็นการบริการงานเกี่ยวกับนักเรียนในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนในห้องเรียน หลักในการจัดกิจกรรม ต้องให้นักเรียนมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมอย่างเสมอภาค ต้องอยู่ในความรับผิดชอบของสถานศึกษา ต้องปลูกฝังความคิด 
5.การบริหารอาคารสถานที่และบริการด้านอื่นๆ คือการรู้จักจัดหา รู้จักใช้อาคารให้เกิดประโยชน์สูงสุดและให้คงสภาพดีสนองความต้องการได้อย่างเพียงพอ