วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรม 9

การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน

 บรรยากาศในชั้นเรียนมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมความสนใจใคร่รู้ใคร่เรียนให้แก่ผู้เรียน ชั้นเรียนที่มีบรรยากาศเต็มไปด้วยความอบอุ่น ความเห็นอกเห็นใจ และความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันและกัน ย่อมเป็นแรงจูงใจภายนอกที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรักการเรียน รักการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน และช่วยปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ความประพฤติอันดีงามให้แก่นักเรียน นอกจากนี้การมีห้องเรียนที่มีบรรยากาศแจ่มใส สะอาด สว่าง กว้างขวางพอเหมาะ มีโต๊ะเก้าอี้ที่เป็นระเบียบเรียบร้อย มีมุมวิชาการส่งเสริมความรู้ มีการตกแต่งห้องให้สดใส ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ส่งผลทำให้ผู้เรียนพอใจมาโรงเรียน เข้าห้องเรียนและพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน ดังนั้น ผู้เป็นครูจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญ ประเภทของบรรยากาศ หลักการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนและการจัดการเรียนรู้อย่างมีความสุข เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีลักษณะตามที่หลักสูตรได้กำหนดไว้ การจัดโต๊ะเรียนและเก้าอี้ของนักเรียน ควรจัดให้มีขนาดเหมาะสมกับรูปร่างและวัยของนักเรียน ให้มีช่องว่างระหว่างแถวที่นักเรียนจะลุกนั่งได้สะดวก และทำกิจกรรมได้คล่องตัว การจัดโต๊ะครู ควรจัดให้อยู่ในจุดที่เหมาะสม อาจจัดไว้หน้าห้อง ข้างห้อง หรือหลังห้อง

กิจกรรม 8

ครูในอุดมคติของข้าพเจ้า

 ครูในอุดมคติของข้าพเจ้านั้น จะต้องเป็นครูที่ดี มีประสิทธิภาพ เป็นครูที่รู้ลักษณะวิชา รู้จักกระบวนการ และมุ่งให้นักเรียนรู้จักคิด รู้จักทำ รู้จักแก้ปัญหาด้วยตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บุคลิกลักษณะส่วนตัวของครูในอุดมคติของข้าพเจ้า จะต้องเป็นครูที่มีลักษณะ ดังนี้ เอาใจใส่ อาทร และเห็นอกเห็นใจคนอื่น อดทน อดกลั้น กับความหลากหลายของวัฒนธรรม เชื่อชาติ ความเชื่อและศาสนา มีอารมณ์ขัน มีความมั่นคงในอารมณ์และสามารถควบคุมอารมณ์ได้ ได้รับการศึกษาและอบรมดี มีทักษะการสื่อความ มีตรรกในการคิด สุขภาพอนามัยและบุคลิกภาพดี มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และเสาะแสวงหานวัตกรรม พึ่งพาตนเอง มีความเชื่อมั่นในตนเองและมีความรับผิดชอบ มีความกล้าหาญ และซื่อตรง ประเมินตนเองและมีทิศทางในการทำงาน มีความรับผิดชอบต่อวิชาชีพ มีความสามารถ การวางแผน การจูงใจและเป็นผู้นำ มีความเด็ดขาด ยืดหยุ่นและปรับตัว

กิจกรรมทดสอบกลางภาค

ความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของดร.สุเมธ ตันติเวชกุล วารสารทักษิณ

1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
       ท่านทรงเป็นครูของแผนดิน เพราะท่านทรงสอนประชาชนของท่านในทุกๆเรื่อง ดังตัวอย่างโครงการมากมายที่ท่านได้ทรงคิดขึ้นมานอกจากท่านจะคิดแล้วท่านยังทำให้ดูอีกด้วย ทรงทำให้เห็นว่าการเป็นครูนอกจากการเรียนการสอนนอกชั้นเรียนแล้ว การทำให้นักเรียนดูเป็นตัวอย่าง โดยการทำให้ดูรวมถึงการฝึกให้นักเรียนคิดด้วยตนเองคิดได้คิดเป็น นอกจากนี้การเป็นครูที่ดีจะต้องปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้นักเรียนด้วย รวมถึงเปิดใจกว้างยอมรับความรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ เสมอ ฝึกฝนพัฒนาตนเองให้มีความรู้ก้าวหน้า ทันกับสภาพแวดล้อมเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป แต่ทั้งหมดนี้ต้องอยู่ในความพอดีด้วย

2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
          ในการเรียนการสอนนอกจากจะสอนแต่วิชาสังคมในชั้นเรียนแล้ว เราต้องฝึกให้นักเรียนนำความรู้ที่ได้รับ ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง ต้องสอนนักเรียนให้ครบทุกๆด้าน ทั้งเนื้อหาในวิชาที่เรียน เนื้อหาในชีวิตทักษะการใช้ชีวิต เป็นตัวอย่างที่ดีให้นักเรียน ทำให้นักเรียนดูเป็นตัวอย่าง เช่น การสอนในเรื่องภูมิศษสตร์ เราก็ต้องให้นักเรียนได้ลองปฏิบัติได้ด้วยตนเอง นำสิ่งที่ได้ไปใช่ในการเดินเนินชีวิตการประกอบอาชีพได้
     
3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่ที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
 
       ในการออกแบบการเรียนสังคมศึกษาตามแนวคิดนี้ ครูผู้สอนจะต้องออกแบบการสอนที่สามารถเชื่อมโยงได้ทุกๆด้าน สามารถนำวิชาสังคมศึกษาไปประยุกต์เชื่อมโยงในการใช้ชีวิตได้ ตัวอย่าง เช่น  การเรียนเรื่องประวัติศาสตร์ ก็ต้องให้นักเรียนประยุกต์ใช้ได้จริง เช่นสามารถตอบได้ว่าประเทศไทยเกิดขึ้นเมื่อไหร

 วิถีแห่งสตีฟ จ๊อบส์     THE STEVE JOBS WAY
    ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
      สตีฟ จ๊อบส์ คือ คนที่การศึกษาไม่สูงนักแต่ฉลาดและน่าสนใจมาก   เขาได้คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่สร้างขึ้นจากมันสมองอัญชาญฉลาดของเขาสิ่งที่สร้างนั้นก็ไม่ได้เกิดขึ้นมาจากปาฏิหาริย์ แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาจากมันสมองและสองมือของที่ผ่านกระบวนการ ฝึก ศึกษา พัฒนา และใช้ปัญญา กว่าเขาจะมาถึงวันนี้เข้าต้องผ่านอุปสรรคต่างๆมากมายแต่ก็สามารถพ้นผ่านมาจนได้ จนกลายเป็นผู้คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆอย่างคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน